วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

[ 21 ธันวาคม 2554 ] 423312 Learning Resources Center Management Group 2

[ 21 ธันวาคม 2554 ] 423312 Learning Resources Center Management Group 2

สัปดาห์ที่ 6 : 21 ธันวาคม 2554 ห้องเรียนปกติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 "หลักทฤษฎีการบริหารงานบุคคล"

ความหมายของการบริหารบุคคล

ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทางานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์

2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

การจำแนกตำแหน่ง

การจำแนกตำแหน่ง หมายถึง การจัดสรรตำแหน่งออกเป็นประเภท หมวดหมู่ ตามลาดับชั้น เพื่อความสะดวกในการสรรหา บรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่ง การจำแนกตำแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification

2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification

3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ

การวางแผนกาลังคน Manpower Planning

หมายถึง กระบวนการที่กำหนดหรือระบุ ความต้องการกาลังคน รวมทั้งวิธีการที่จะทาให้ได้มาซึ่งกาลังคนตามที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์และแผนขององค์การที่วางไว้

ขั้นตอน ของกระบวนการวางแผนกาลังคน

- ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ

- การตรวจสภาพกาลังคน

- แผนภูมิแสดงความเคลื่อนไหว ของบุคคลการในองค์การ

- การพยากรณ์ความต้องการกาลังคน

การวางแผนกำลังคนที่ดี ต้องทราบสาระดังนี้

1. ภาระงาน Workload

2. การออกแบบงาน Job Design

3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis

4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description

5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification

6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment

บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้

1. ด้านบริหาร

2. ด้านการบริการ

3. บุคลากรด้านการผลิตสื่อ

=================================

คำถามท้ายบท 5 ข้อหลัง

1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

ตอบ 1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สาหรับบริการ
2. การผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน
3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทาทะเบียน
4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
5. การให้คาปรึกษา แนะนาการใช้และการผลิตสื่อ
6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ

ซุลเลอร์ (Schuller. 1954 : 42 ; อ้างอิงจาก อานวย เดชชัยศรี. ม.ป.ป. : 3 - 9) ได้กล่าวถึง

1. ประเมินค่าวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจัดซื้อแต่ชนิดที่มีประสิทธิภาพและตรงกับจุดมุ่งหมายที่จะใช้ มีความทนทาน น้าหนักเบา ซ่อมงานเมื่อชารุด และทันสมัย
2. ผลิตวัสดุอุปกรณ์การสอนตามความต้องการของผู้สอนในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาซื้อได้
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสาหรับแจกจ่ายให้ยืม
4. จัดทาแคตตาล็อกวัสดุอุปกรณ์ พร้อมทั้งให้คาปรึกษาแนะนาแก่ผู้ขอรับบริการในการเลือกหรือยืมได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม
5. จัดระบบการยืมและจองวัสดุอุปกรณ์ให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
6. ตรวจเช็ควัสดุและเครื่องมือต่างๆให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอควรทาการตรวจสภาพเครื่องมือภายหลังการใช้งานทุกครั้ง รวมทั้งการทาความสะอาด และซ่อมแซมถ้ามีสิ่งบกพร่องเกิดขึ้น
7. ให้ข้อสารสนเทศต่างๆ เกี่ยวกับวัสดุการศึกษา อาทิ เช่น จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่การบริการต่างๆ ตลอดจนให้การอบรม การบรรยาย แนะนา อุปกรณ์การสอนใหม่ๆ
8. สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยร่วมมือกับหน่วยงานราชการ องค์การสาธารณะ สมาคมหรือสถาบันสังคมอื่นๆ ในการยืมอุปกรณ์หรือการจัดฝึกอบรม ให้คาแนะนาหรือร่วมมือกับสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ในการจัดอบรมหรือเผยแพร่ข่าวสารวิทยาการต่างๆ


2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง

ตอบ 1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกาหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา การจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทางบประมาณ การกาหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

1.1 หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า หัวหน้าศูนย์หรือผู้อานวยการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1.2 หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย
1.3 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
1.4 พนักงานธุรการ
1.5 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบารุงรักษา ด้านการให้คาปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกาหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

2.1 บรรณารักษ์
2.2 นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์

3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ เป็นต้น

4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสาคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจาเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง



3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท

ตอบ 3 ประเภทใหญ่ๆ

1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists)

2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ

3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชานาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสาคัญ



4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสารวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสารวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่

1. การสารวจสื่อวัสดุ (Materials) การสารวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
- ชนิดของวัสดุ
- ชื่อเรื่อง
- แหล่งที่เก็บ (Location)
- แหล่งที่ได้มา
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน

2. การสารวจเครื่องมือ (Equipments)
- ชนิดของเครื่องมือ
- แบบ/รุ่น
- แหล่งที่เก็บ
- แหล่งที่ได้มา
- จานวน
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน

ขั้นตอนที่ 2 การสารวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสารวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง ขั้นตอนที่ 3 การสารวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนาข้อมูลที่ได้ไปดาเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสารวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ การสารวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทาได้หลายลักษณะ ได้แก่

1. การสัมภาษณ์
2. การสังเกต
3. การใช้แบบสอบถาม


ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนาข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทาเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณ

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง

ตอบ 1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จาหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภทไว้สาหนรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ

2. ผู้ทาหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า(ห้างร้านหรือบริษัท) เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อและจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง

3. ควรสารวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ

========================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น